การดำเนินธุรกิจไปใช้ในการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น

การพัฒนาชุมชน เป็นการทำให้กลุ่มคนดีขึ้น เจริญขึ้น ในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เป็นต้น การพัฒนาชุมชนก็คือการพัฒนาคุณภาพชีวิต ชีวิตของชาวบ้าน ชีวิตของประชาชน ชีวิตของคนที่สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเหมาะสม  ไม่เป็นภาระไม่เกิดปัญหาแก่สังคม เป็นชีวิตที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ และใช้ชีวิตอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ค่านิยมทางสังคมได้อย่างมีความสุข ชาวบ้าน ประชาชนจะมีร่างกาย และจิตใจที่สมบูรณ์อย่างนี้ได้ ต้องได้รับปัจจัยความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่พอเหมาะ พอดี ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า สุขภาพที่แข็งแรง และมีความมั่นคงในชีวิต

เป้าหมายของการพัฒนาชุมชน คือ คน ซึ่งเป็นกลุ่มอันหลากหลาย กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นหมู่บ้าน เป็นชุมชนเมือง เป้นกลุ่มอาชีพ เป็นกลุ่มกิจกรรม ฯลฯ กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญของประเทศ เราเห็นพ้องกันว่าการพัฒนาคน เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง การพัฒนาคนจึงเป็นเป้าหมายของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และต่อใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รากฐานของประเทศดีขึ้น เจริญขึ้นในทุก ๆ ด้าน ประเทศชาติก็ดีขึ้น เจริญขึ้น เป็นสังคมพัฒนา สังคมพัฒนาดี สมาชิกในสังคมย่อมได้รับผลพวงของการพัฒนา ทุกอย่างมันเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การเล็งเป้าการพัฒนาไปที่คน ก็คือการเล็งเป้าไปที่ชุมชน จึงเป็นภารกิจของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนาอย่างจริงจัง รวมทั้งต้องพัฒนาคนเองด้วย เหมือนตนเองเป็นชุมชนหนึ่ง องค์กรทั้งหลายก็ต้องพัฒนาตนเองเช่นเดียวกัน เพราะองค์กรก็มีความเป็นชุมชนด้วย ถ้าเราจินตนาการว่าคนเหมือนเซล (cell) ของประเทศ (ร่างกาย) เซลทุกเซลได้รับการเอาใจใส่ดูแลให้ดี ทำให้พัฒนา ประเทศชาติหรือสังคมไทยเราจะเป็นอย่างไร ลองจินตนาการต่อไป เพราะฉะนั้น เป้าหมายของประเทศ หรือสังคม จึงต้องพัฒนาคนหรือชุมชน

สิ่งที่พึงกระทำก่อนในการพัฒนาชุมชน
สิ่งใดที่จะพึงกระทำก่อนหลัง ย่อมต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้คนในท้องถิ่นเป็นสำคัญย่อมแล้วแต่สภาพของท้องถิ่น ความต้องการพื้นฐานนั้นผู้คนจะแสดงออกให้เห็นได้แจ้งชัด ถือว่าเป็นปัญหาสังคม ซึ่งผู้คนเหล่านั้นต้องการให้หมดไป  หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นและสิ่งที่พึงกระทำก่อนในการพัฒนาชุมชน คือ
1.  การป้องกัน ได้แก่ การรักษาความสงบสุขของผู้คนในท้องถิ่น
2.  การอนามัยเบื้องต้น ได้แก่ ความสะอาด สุขภาพ ร่างกาย โภชนาการที่เหมาะสม
3.  การเศรษฐกิจ ให้มีกินมีใช้มากกว่าเดิม
4.  การศึกษา ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
5.  นันทนาการ มีสถานที่และอุปกรณ์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หาความสำราญและใช้เวลาว่าให้เป็นประโยชน์
6.  การให้บริการทางสังคมและสิ่งอำนวยความสุข มีการสังคมสงเคราะห์และบริการที่จำเป็น

 

This entry was posted in พื้นฐานทางการเงิน and tagged , . Bookmark the permalink.

Comments are closed.