การพัฒนาชุมชนในรูปแบบที่ยั่งยืน
การพัฒนาในประเทศที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเชื่อว่าหากเศรษฐกิจเติบโตสูงขึ้นระดับรายได้ของประชากรของประเทศก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลให้มาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนสูงขึ้นแต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในเชิงปริมาณดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรมนำไปสู่ข้อสรุปผลของการพัฒนาที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาคุณภาพของชุมชนและไม่ยั้งยืน ความเจริญทางเศรษฐกิจไม่อาจดำรงอยู่อย่างยั้งยืนได้ หากไม่คำนึงถึงการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยต้องมีการใช้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์พร้อมทั้งจัดการ และยังมีการคุ้มครองระบบนิเวศให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั้งยืน ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาประเทศและเริ่มกำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศที่มุ่งรักษาความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เศรษฐกิจชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
เศรษฐกิจชุมชน คือ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการทั้งในด้านการผลิต การบริโภค และการกระจายผลผลิต โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชุมชน คือ ให้มีส่วนร่วมคิด ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ บนรากฐานของความสามารถที่มีอยู่ จากการใช้ “ทุนของชุมชน”สมาชิกในชุมชนจะเป็นผู้ตัดสินว่า พวกเราจะผลิตอะไรได้บ้างตามศักยภาพและทุนประเภทต่างๆ ที่มีอยู่เราจะผลิตกันอย่างไร โดยที่ชุมชนสามารถ คิดเอง ทำเอง ได้เอง
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนควรมีเป้าหมายสำคัญที่ คือ
1. การพัฒนาขีดความสามารถของคน ครอบครัว และชุมชน
2. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
การมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนมีจุดแข็งที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา ก็คือ
1. คนในท้องถิ่นในชุมชนเดียวกันมีจิตสำนึกร่วมกัน
2. การมีความเอื้ออารี
3. การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
4. เป็นการพัฒนาที่เริ่มจากการกำหนดพื้นที่