ความจำเป็นในการสร้างความเชื่อมโยงของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นฐานการลงทุนและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อันจะช่วยปูพื้นฐานการวางบทบาทการพัฒนาประเทศในภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ บนพื้นฐานการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยอาศัยศักยภาพของพื้นที่เศรษฐกิจที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ ควบคู่กับโครงข่ายบริการพื้นฐานที่มีครอบคลุมค่อนข้างทั่วถึงอยู่แล้ว ในการพัฒนาเตรียมประเทศเป็นประตูเศรษฐกิจของภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับตลาดโลกอย่างเป็นระบบเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาในด้านความเจริญเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ และปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต มองกันที่อุตสาหกรรม เน้นความเจริญทางวัตถุจนเกิดผลร้ายต่อธรรมชาติแวดล้อม เป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุลทำให้ธรรมชาติร่อยหรอและเกิดปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาสังคมและปัญหาสภาพจิตใจ จึงเป็นการพัฒนาที่ผิดพลาด กำลังจะทำให้โลกสู่หายนะ และความพินาศ เพราะเป็นการพัฒนาที่เสียสมดุลทำให้โลกไม่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยและอาจจะอยู่อาศัยไม่ได้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน จึงเกิดแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนาใหม่ โดยเปลี่ยนวิธีการพัฒนาโดยใช้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
โครงการพัฒนาแบบองค์รวมในระดับหมู่บ้านเพื่อขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ไม่ใช่การแก้ที่ปลายเหตุด้วยวิธีการช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ซึ่งเป็นวิธีเก่าๆ ที่ไม่ได้ผล ซึ่งเชื่อว่าสิ่งที่จะสามารถขจัดความยากจนได้ คือ การเปลี่ยนจากความช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ไปสู่การส่งเสริมให้ชาวบ้านมีทักษะในการทำธุรกิจ โดยใช้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของโครงการของชาวบ้าน ซึ่งจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ระดมความร่วมมือจากชาวบ้านในการวางแผน การดำเนินโครงการ ไปจนถึงการติดตามและประเมินผล สามารถสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างหมู่บ้านในชนบทกับผู้สนับสนุนโครงการ ซึ่งอาจเป็นบุคคล ครอบครัว องค์กร หรือบริษัทธุรกิจต่างๆ ซึ่งโครงสร้างของโครงการจะช่วยให้บริษัทที่มีแนวคิดในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อช่วยให้ชาวบ้านริเริ่มธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจชุมชนได้