การพัฒนาชุมชนเพื่อที่จะให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน

16

การพัฒนาชุมชนเป็นการมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในแต่ล่ะชุมชนโดยให้เกิดการพัฒนาในทุกๆด้านไปพร้อมกัน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมืองการปกครองและระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้น ซึ่งการพัฒนาชุมชนนั้นมีกระบวนการขั้นตอนในการดำเนินการทั้งนี้การพัฒนาชุมชนตั้งอยู่บนพื้นฐานของบริบทของแต่ล่ะชุมชนที่มีความแตกต่างกันเช่น สภาพภูมิประเทศ วัฒนธรรม ความเชื่อ จึงส่งผลให้การพัฒนามีความแตกต่างกันในแต่ล่ะชุมชน  ในการที่เราจะพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องทำให้ชุมชนนั้นเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนจะต้องพัฒนาจากระดับรกฐาน เพื่อความมั่นคงและในการพัฒนาชุมชนเพื่อที่จะให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืนได้นั้น เราจำเป็นต้องพัฒนาชุมชนโดยอาศัยสินทรัพย์ชุมชนเป็นฐานโดยเริ่มจากการมองว่า มนุษย์ทุกคนมีพรสวรรค์อยู่ในตัวไม่อย่างใดอย่างหนึ่งและมีคุณค่าต่อผู้อื่นด้วย  ในชุมชนที่เข้มแข็งมีความตระหนักถึงคุณค่าของศักยภาพเหล่านั้น จะสามารถนำศักยภาพและคุณค่าของสิ่งนั้นนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในขณะที่ชุมชนอ่อนแอไม่ตระหนักว่าคนในชุมชนมีคุณค่า จึงสูญเสียโอกาสอย่างมหาศาล ดังนั้นความเข้มแข็งของชุมชนจะเกิดขึ้นได้ถ้ามีผู้คนจำนวนมากในชุมชนที่อุทิศตนเพื่อชุมชนเป็นสุข

การพัฒนาชุมชนที่อาศัยสินทรัพย์ของชุมชนเป็นรากฐานเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของชุมชนอย่างยั่งยืนและมีความหมาย  มาจากภายในชุมชนเองเสมอ  ผู้เชี่ยวชาญก็มิใช่ใครที่ไหนหากแต่เป็นสมาชิกของที่นั้นร่วมกันจุดประกายขึ้นมา โดยเน้นที่ขุมพลังและความสามารถของชุมชนมากกว่าปัญหาและความขาดแคลนของชุมชนจะต้องมองโลกในแง่ดีมองที่ตัวสมาชิกแต่ละคนว่ามีความสามารถและพรสวรรค์และใช้ความสามารถที่มีอย่างมีคุณค่า แล้วสร้างสัมพันธภาพระหว่างความสามารถของแต่ละคน สมาคม องค์กรและเครือข่าย ต้องเปลี่ยนความคิดแนวทางการพัฒนาชุมชนจากแบบดั้งเดิมที่คิดและทำจากบนลงลาง  ริเริ่มจากภายนอกสู่ภายในใช้ความอ่อนแอเป็นฐานคิดว่าคนในใช้การไม่ได้ต้องพึงภายนอกให้เปลี่ยนแนวทางการพัฒนา  โดยคิดและทำจากล่างสู่บน  ใช้ความเข้มแข็งเป็นฐาน  คิดว่าคนในชุมชนมีสติปัญญาความสามารถงานสำเร็จโดยสมาชิกในชุมชน เราต้องเริ่มจากฐาน คือ สินทรัพย์ชุมชน  ขุมพลังชุมชนต้องมองอย่างจริงจังว่าคืออะไรอยู่ที่ไหนสำคัญอย่างไร มีเท่าไหร่ จะเอามาใช้อย่างไรเพราะในชุมชนจะมีทุนชุมชน ซึ่งก็จะมีต้นทุนทางวัฒนธรรม  ทุนทางธรรมชาติ  ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ ทุนสิ่งปลูกสร้าง ทุนด้านการเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกร่วมกันเป็นทุนชุมชนจะมีอยู่ในทุกชุมชนขึ้นอยู่กับว่าชุมชนนั้นๆ จะมองเห็นและค้นหาออกมามากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากแต่การพัฒนาที่เกิดขึ้นเป็นการพัฒนาที่มองข้ามทุนชุมชนจึงส่งผลให้เกิดปัญหาอันเนื่องจากมองข้ามหรือค้นหาทุนที่มีอยู่ในชุมชน สนใจเพียงปัจจัยภายนอกละเลยศักยภาพชุมชนส่งผลในการดำเนินการพัฒนา

This entry was posted in พื้นฐานทางการเงิน. Bookmark the permalink.

Comments are closed.