ขั้นตอนการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน

ปัญหาในการพัฒนาชุมชนนั้นมีด้วยกันหลากหลาย ขึ้นอยู่กับตัวของแต่ละบุคคลในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะทางด้านภาครัฐที่ไม่เคารพการตัดสินใจของคนในชุมชน ถึงแม้จะมีรัฐธรรมนูญระบุให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม อีกทั้งคนในชุมชนยังขาดกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การมองปัญหา การแก้ปัญหา ยังเป็นลักษณะแก้ผ้าเอาหน้ารอด เมื่อคนในพื้นที่หนึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา ทุกคนก็เอาอย่างกัน แบบไม่ลืมหูลืมตา ทำให้เกิดความล้มเหลวในการพัฒนาชุมชนของตน ทางด้านภาครัฐเองก็ต้องการให้คนในชุมชนเป็นไปตามที่ต้องการ โดยไม่สนใจว่าคนในชุมชนจะคิดอย่างไร ถ้ารัฐยังมองการแก้ปัญหาแบบสูตรสำเร็จ และบอกว่าต้องนี้ถึงจะใช่ โดยไม่ใช้มิติของความแตกต่าง ความหลากหลาย การเคารพความคิดเห็นของคนในพื้นที่ การแก้ปัญหาสังคม ความยากจนที่รัฐบาลทุกรัฐบาลอยากเห็น คงเป็นเรื่องที่อยู่ไกลเกินเอื้อมถึง
การใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ต้องเริ่มที่ภาครัฐต้องยอมรับความคิดเห็นของพี่น้องชุมชนเสียก่อน แล้วไปหนุนเสริมการจัดกระบวนการ ที่เป็นไปเพื่อเอื้อให้พี่น้องชุมชน ลุกขึ้นมาจัดการตัวเองให้ได้ โดยมีหลักอยู่ 10 ขั้นตอน ดังนี้
1.ค้นหาแกนนำและองค์กรท้องถิ่น สร้างทีมงานที่ริเริ่มขบวนการจัดทำแผนแม่บท และสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกัน
2.จุดประกายความคิด ปิดประเด็นเพื่อหาคนมาทำงานร่วม นำประเด็นปัญหาต่าง ๆ วิกฤติที่เกิดขึ้นในชุมชนมาหารือกันสร้างความหวังที่จะอยู่รอดร่วมกัน
3.ศึกษาประวัติชุมชนให้ทุกคนเห็นคุณค่า ได้แนวร่วมเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้ผู้คนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน
4.สำรวจ รวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลครัวเรือน จะได้ข้อมูลที่ดี ชัดเจน มีประโยชน์
5.วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ช่วยกันหาทางออก โดยใช้หลักการที่ว่าปัญหาของใคร คนกลุ่มนั้น ต้องช่วยกันแก้ ใครถนัดงานด้านไหน มอบให้เป็นผู้รับผิดชอบงานตามที่เขาถนัด
6.ยกร่างแผนแม่บทชุมชนได้แผนงานในระดับที่จัดการกันเองในระดับชุมชน
7.ประชาพิจารณ์แผนแม่บทชุมชน การแก้ระเบียบ กฎเกณฑ์ ให้เหมาะสมกับการทำงาน
8.นำแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยมอบให้ตัวแทนแต่ละเรื่อง แต่ละกิจกรรมที่เขาต้องการ นำไปบริหารจัดการด้วยตนเอง
9.ทบทวนปรับปรุง ปรับปรุงได้ตลอดเวลา เมื่อนำแผนแปลงสู่การทำงาน
10.ประเมินผล สรุปบทเรียนการทำงาน ชุมชนได้อะไรบ้างกับการแก้ปัญหา ด้วยแผนชุมชนถอดเป็นชุดประสบการณ์ความรู้ เพื่อเป็นข้อมูลในการทำงานต่อไป

This entry was posted in พื้นฐานทางการเงิน and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.