กองทุนฟื้นฟูชำระหนี้สินของเกษตรกร

เกษตรกรไทยรายย่อยต่างประสบปัญหาภาระหนี้สิน  โดยเฉพาะในยุคที่กระแสการปลูกพืชเชิงเดี่ยวกำลังไหลบ่าท่วมหมู่บ้าน ส่งผลให้เกษตรกรต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าภาครัฐจะดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อเกษตรกรที่ยากจน แต่กลับพบว่าทำให้เกษตรกรมีอุปสรรคมากขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องหาสาเหตุในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

สถานการณ์ปัญหาหนี้สินเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยภาพรวมนับว่าเป็นปัญหาใหญ่  สาเหตุหลักนั้นเราต้องพิจารณาว่าการลงทุนของเกษตรกรนั้นต้องใช้ทุนมาก ดังนั้นผู้ที่มีหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ 100% เป็นหนี้กันหมด รวมทั้งการใช้หนี้ผิดประเภท เช่น ค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูก เป็นต้น พักหลังเกษตรกรที่สามารถกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษาได้นั้นพบว่าจะมีปัญหาหนี้สินตรงนี้น้อยลง

ราคาพืชผลทางการเกษตรนั้น มีส่วนเชื่อมโยงกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร ผลจากการเปิดเสรีการค้า หากปีไหนราคาสินค้าเกษตรดี เกษตรกรก็สามารถส่งเงินชำระเจ้าหนี้ได้  แต่ช่วงหลังพบว่าเกษตรกรมีหนี้สะสมแพงมากขึ้น คือการเอาหนี้ที่มีอยู่ไปปรับโครงสร้างใหม่ ซึ่งยอดหนี้เท่าเดิม และขยายเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น บางรายอาจจะได้เงินทุนอีกก้อนไว้ลงทุนใหม่

กรณีการดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ไปซื้อหนี้เกษตรกรจากสถาบันเจ้าหนี้ มีผลดีต่อเกษตรกร โดยการชำระหนี้ครึ่งหนึ่งให้แก่เกษตรกร หลังจากนั้นเกษตรกรก็จะต้องมาผ่อนชำระหนี้ส่วนนั้นกับกองทุนฟื้นฟูฯ โดยกองทุนฟื้นฟูคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระต้องไม่เกิน 20 ปี ขณะที่สหกรณ์นั้น ส่วนของเงินต้นกองทุนฟื้นฟูฯจะชำระหนี้แทนเกษตรกรครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งที่เหลือกรมส่งเสริมสหกรณ์โดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะเป็นผู้จัดการ ส่วนสหกรณ์จะได้ดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ย 5%

ปัญหาคือบางชุมชนยังไม่รู้และไม่เข้าใจรายละเอียด ไม่รู้ว่ามีระเบียบนี้อยู่ และเมื่อชาวบ้านมายื่นเรื่องขอกู้ก็ได้รับการปฏิเสธ ขณะเดียวกันตัวกองทุนเองนั้นก็ไม่มีความชัดเจน ไม่มีส่วนใดที่จะลงมาดูแล เพราะการประชาสัมพันธ์มีน้อยมาก ดังนั้นทางด้านสหกรณ์ควรให้ความร่วมมือทำตามข้อตกลงนั้นเพื่อช่วยฟื้นฟูฐานะเกษตรกรในชุมชนของตน

This entry was posted in พื้นฐานทางการเงิน and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.