Category Archives: พื้นฐานทางการเงิน

ปัจจัยที่จะทำให้การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งขึ้น

  ได้รับการแนะนำ ส่งเสริม และสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่หน่วยงานของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนจะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความตื่นตัวและรวมกลุ่มขึ้น ความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาแหล่งต้นน้ำ ลำธาร การอนุรักษ์ป่าชายเลน การรักษาระบบนิเวศน์ชานฝั่ง เป็นต้น การต้องการรายได้เพิ่มขึ้น อันเป็นมูลเหตุหลักที่พบในชุมชนเกือบทุกแห่งที่สำรวจ เนื่องจากคนในชุมชนมีรายได้ไม่พอเพียงต่อการครองชีพ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการรวมกลุ่มเพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่ความต้องการของตลาด เช่น กลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มจักสาน กลุ่มทำน้ำตาลโตนด เป็นต้น ผู้นำและแกนนำของชุมชนต้องการแก้ไขปัญหาภายในชุมชน โดยกระตุ้นให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนตั้งแต่การร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหา กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เห็นได้ชัดเจน คือ กระแสชีวจิต ซึ่งทำให้คนหันมาบริโภคผลผลิตหรือหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติมากขึ้น จึงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อการแปรรูปสมุนไพร การปลูกผักปลอดสารพิษ การผลิตข้าวซ้อมมือ เป็นต้น คนในชุมชนมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงเกิดการรวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ความต้องการเงินทุนและความรู้เพื่อประกอบอาชีพ พบว่าหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนเงินทุนหรือความรู้เพื่อประกอบอาชีพเสริม จะดำเนินงานโดยรวมกลุ่มกัน

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Comments Off on ปัจจัยที่จะทำให้การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งขึ้น

หลักการการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนขึ้น

1. ผู้นำชุมชนควรที่จะได้รับการเปลี่ยนตัวกันบ้างตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและจะต้องมีการเตรียมตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำชุมชนไว้หลายๆ คน 2. หากจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์การ จะต้องสามารถทำหน้าที่ได้อย่างดี ไม่ใช่ว่าจัดตั้งหน่วยงานนั้นขึ้นเพื่อแสดงผลของการพัฒนาชุมชน 3. ทุกคนในชุมชนควรจะได้รับการส่งเสริมให้ได้เข้าร่วมในการปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติต่างๆ ตามโครงการพัฒนาชุมชน 4. พึงให้การศึกษาแก่คนในชุมชนอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป 5. ทุกคนในชุมชนต้องให้ความร่วมมือให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดในการสร้างความเจริญหรือเปลี่ยนแปลงสภาพของท้องถิ่นนั้นให้ดี 6. การปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติต่างๆ ควรให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยเพื่อให้ผู้คนในท้องถิ่นได้รับรู้และเข้าใจวิธีการต่างๆ ของระบอบนี้ได้ถูกต้อง 7. จะต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองโดยเสรี เพื่อจะได้รับความคิดเห็นต่างๆ ตลอดจนความต้องการของผู้คนในท้องถิ่น

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on หลักการการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนขึ้น

แนวคิดการปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนเป็นยุทธศาสตร์หลักหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวอยู่หลายหน่วยงาน มุ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ ให้กับวิสาหกิจชุมชน ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะการผลิต การบริหารจัดการ และพัฒนาช่องทางการตลาด แนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมาจึงเน้นกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ ในรูปแบบการฝึกอบรมและการให้คำปรึกษาแนะนำโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีความเชื่อว่ากระบวนการพัฒนาดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ และการตลาด จนเป็นผลให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มตามตัวชึ้วัดการดำเนินงานของหน่วยงาน ความสำเร็จจากการดำเนินงานนับได้ว่าในมิติทางเศรษฐกิจ ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ การผลิตสินค้ามีการปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามด้านตัวผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ และการตลาด ประสบความสำเร็จเพียงชั่วคราว ไม่ยั่งยืนและพึ่งตนเองไม่ได้ ความสำเร็จชั่วคราวเกิดจากการช่วยเหลือของที่ปรึกษาและวิทยากร เนื่องจากกลุ่มยังขาดความสามารถในด้านต่างๆ อย่างแท้จริง เช่น การแสวงหาข้อมูลเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการผลประโยชน์และการกระจายรายได้ภายในสมาชิกกลุ่มยังมีข้อสงสัยของโอกาสทางการตลาดและความเป็นธรรมในการแบ่งปันผลประโยชน์ ด้านมิติทางสังคม มีราษฎรเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากที่ประสบปัญหาการพัฒนาศักภาพและการปรับตัวในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่เกื้อหนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากแนวทางการดำเนินงานไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่จะผสมผสานองค์ความรู้เดิม ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในชุมชน ผลกระทบจากการพัฒนาดังกล่าวก่อให้เกิดผลดีและผลเสียต่อชุมชนในหลายกรณี โดยเฉพาะในระยะยาวจะเห็นรอยแตกร้าวที่เกิดจากการขัดแย้งทั้งในมิติทางเศรษฐศาสตร์และมิติทางสังคมกว้างขึ้นอย่างชัดเจน เริ่มจากระหว่างปัจเจกชนพัฒนาสู่สถาบันครอบครัว และกระจายสู่องค์กรต่างๆ ในชุมชน กลุ่มที่มีฐานความสัมพันธ์ของสมาชิกไม่เข้มแข็งเพียงพอ ก็มักจะประสบความล่มสลายไปในที่สุด ด้านมิติทางสิ่งแวดล้อม … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on แนวคิดการปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา

ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ ผู้ที่มีบุญคุณต่อคนไทยทุกคนที่ปลูกข้าวให้เราได้มีกินอย่างไม่อดอยาก แต่ทุกวันนี้ยังเห็นชาวนาออกมาประท้วงขอความเป็นธรรมอยู่ตลอด เพราะทำนาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน แต่ไม่เคยลืมตาอ้าปากมีชีวิตที่สุขสบายอย่างอาชีพอื่นเขาเลย มิหนำซ้ำยังต้องเป็นหนี้สินชักหน้าไม่ถึงหลัง จนทำให้ลูกหลานชาวนาไม่มีคนไหนอยากจะสืบทอดอาชีพต่อจากบรรพบุรุษ เพราะมองไม่เห็นอนาคต อนาคตประเทศไทยอาจไม่มีผู้ทำหน้าที่เพาะปลูกข้าว จะก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศ และสูญเสียความเป็นผู้นำด้านข้าวของโลกในที่สุด สำหรับกรอบแนวคิดที่สำคัญของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา นั้นมีอยู่ 5 แนวทางหลักด้วยกัน คือ 1.เป็นสวัสดิการเพื่อประโยชน์สำหรับสมาชิกที่ประกอบอาชีพทำนาโดยเฉพาะและมีรายได้แน่นอน 2.มีการเก็บเงินเข้ากองทุนโดยคำนวณจากฐานรายได้ของการจำหน่ายข้าวเปลือกในแต่ละปี 3.จัดให้มีสวัสดิการด้านอื่น ๆ เช่น การจัดหาปัจจัยการผลิตและอื่น ๆ ให้กับผู้ประกอบอาชีพทำนา 4.รัฐบาลสามารถพิจารณาเงินที่จะมาสมทบจากฐานภาษีรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับข้าว ซึ่งจะทำให้กองทุนมีความมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น 5.เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ชาวนาเห็นว่าอาชีพทำนามี เกียรติศักดิ์ศรีและมั่นคง ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนรุ่นใหม่มีความรักและยึดถือการประกอบอาชีพทำนาต่อไป กองทุนสวัสดิการชาวนาเปิดโอกาสให้เกษตรกรสมัครเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ โดยมีข้อจำกัดขั้นสูงของพื้นที่นาเพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากกองทุนดังกล่าว นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะชาวนาให้เข้ามามีส่วนร่วมในกำหนดรูปแบบการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่ชาวนาจะได้รับจากกองทุน เช่น เงินบำเหน็จบำนาญ เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพและเสียชีวิต เงินสงเคราะห์บุตร รวมทั้งการจัดหาปัจจัยการผลิตโดยไม่ซ้ำซ้อนกับส่วนที่รัฐบาลจัดหาให้อยู่แล้ว … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา

กองทุนเพื่อสนับสนุนกระบวนการชุมชนได้อย่างยั่งยืน

การจัดกิจกรรมสวัสดิการชุมชนนั้น สิ่งสำคัญคือ ชุมชนต้องคำนึงถึงความสามารถของชุมชนเอง ต้องเข้าใจว่าการจัดสวัสดิการชุมชนนั้นไม่ใช่ระบบการประกัน แต่การจัดสวัสดิการชุมชนเป็นกระบวนการของชุมชนที่สร้างหลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการจัดการตนเอง การให้ความช่วยเหลือกันและกันฉันท์ญาติมิตร ให้ความรักความเอื้ออาทรต่อกัน ให้การดูแลเอาใจใส่กันและกัน ทำให้การจัดสวัสดิการชุมชนไม่ใช่เพียงแค่การช่วยเหลือทางการเงินเท่านั้น แต่สวัสดิการยังเป็นทั้งกำลังใจ กำลังทรัพย์ และความรู้ เป็นกระบวนการของการให้อย่างมีคุณค่า เป็นธรรมและเท่าเทียม ดังนั้นการจัดการสวัสดิการชุมชนจึงมีความลึกซึ้ง ค่อยเป็นค่อยไปแต่มั่นคง กองทุนสวัสดิการชุมชนหลายกลุ่มที่ประสบความสำเร็จก็เรียนรู้ และใช้เวลาในการพัฒนามายาวนาน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การสนับสนุนจากภาครัฐจึงไม่ใช่มุ่งหมายจะใช้เงินเพื่อจูงใจที่จะให้เกิดการจัดตั้งสวัสดิการชุมชนโดยไม่มีความพร้อมแต่อย่างใด แต่การสมทบนั้นๆ จะมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนกระบวนการที่ชุมชนได้ริเริ่มลงมือทำมาแล้ว เป็นการหนุนเสริมเติมเต็มกำลังใจสำหรับชุมชนผู้ริเริ่มก่อการดีทุกแห่งให้มีคุณภาพเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนและเพื่อขยายผลให้สวัสดิการชุมชนนั้นเป็นหลักในการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นด้วย โดยมีรูปแบบกิจกรรมสวัสดิการชุมชนด้วยกันดังนี้ 1.จากฐานองค์กรการเงินชุมชนและการบูรณาการกองทุน จากกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อจัดสวัสดิการโดยเฉพาะ ได้มีการนำผลกำไรขององค์กรการเงินมาจัดสวัสดิการ สร้างวินัยในการออมของสมาชิกเพื่อให้ได้สวัสดิการจนเกิดการขยับเชื่อมโยงบูรณาการกองทุนภายในชุมชน เพื่อนำดอกผลมาเป็นกองทุนสวัสดิการ 2.ออมวันละบาท เป็นรูปแบบการจัดสวัสดิการที่ใช้แนวคิดสัจจะวันละบาท ทำสวัสดิการในชุมชน 3.กองทุนสวัสดิการจากฐานศาสนา เป็นรูปแบบการจัดสวัสดิการที่ใช้หลักคำสอนทางศาสนาและผู้นำศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม ทำให้คนในชุมชนทุกระดับได้ช่วยเหลือ แบ่งปันเกื้อกูลกัน 4.กองทุนสวัสดิการจากฐานกองทุนผู้สูงอาย เป็นรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนที่มีครอบครัว … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on กองทุนเพื่อสนับสนุนกระบวนการชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ข้อดีในการพัฒนาชุมชนยุคอาเซียน

เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคของอาเซียน จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต และกระบวนการต่างๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในชุมชนที่เลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น กรมการพัฒนาชุมชนซึ่งมีภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมให้บุคลากรซึ่งเสมือนกลไกในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย ในขณะเดียวกันกับการแสวงหาองค์ความรู้และกลยุทธ์ และพัฒนาศักยภาพผู้นำ กลุ่มองค์กร เครือข่ายและชุมชนให้มีความพร้อมทั้งทักษะชีวิตและการบริหารจัดการภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรากฐานที่สำคัญของการนำองค์ความรู้ทางวิชาการไปสู่การประยุกต์ใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับชาติและนานาชาติ ข้อดีของการพัฒนาชุมชน มีดังนี้ 1.เพื่อช่วยพัฒนาสังคมชุมชนขนาดเล็กให้มีศักยภาพ เช่น โครงการหมู่บ้านโอท็อปเพื่อการท่องเที่ยว โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โครงการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ 2.นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ องค์การสังคม และภาวะผู้นำ เช่น การพัฒนาผู้นำทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ ผู้นำการพัฒนา และผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3.การแพร่กระจายของความรู้ เทคโนโลยีและสิ่งต่าง ๆ จากชุมชนภายนอกที่เจริญก้าวหน้ากว่าเข้ามาสู่ชุ่มชน ชุมชนจึงจำเป็นต้องมีการติดต่อกับโลกภายนอก ไม่มีลักษณะเป็นสังคมปิด ในการพัฒนาชุมชนจึงต้องดำเนินการให้มีช่องทางของการแพร่กระจาย เช่น … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on ข้อดีในการพัฒนาชุมชนยุคอาเซียน

ขั้นตอนการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน

ปัญหาในการพัฒนาชุมชนนั้นมีด้วยกันหลากหลาย ขึ้นอยู่กับตัวของแต่ละบุคคลในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะทางด้านภาครัฐที่ไม่เคารพการตัดสินใจของคนในชุมชน ถึงแม้จะมีรัฐธรรมนูญระบุให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม อีกทั้งคนในชุมชนยังขาดกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การมองปัญหา การแก้ปัญหา ยังเป็นลักษณะแก้ผ้าเอาหน้ารอด เมื่อคนในพื้นที่หนึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา ทุกคนก็เอาอย่างกัน แบบไม่ลืมหูลืมตา ทำให้เกิดความล้มเหลวในการพัฒนาชุมชนของตน ทางด้านภาครัฐเองก็ต้องการให้คนในชุมชนเป็นไปตามที่ต้องการ โดยไม่สนใจว่าคนในชุมชนจะคิดอย่างไร ถ้ารัฐยังมองการแก้ปัญหาแบบสูตรสำเร็จ และบอกว่าต้องนี้ถึงจะใช่ โดยไม่ใช้มิติของความแตกต่าง ความหลากหลาย การเคารพความคิดเห็นของคนในพื้นที่ การแก้ปัญหาสังคม ความยากจนที่รัฐบาลทุกรัฐบาลอยากเห็น คงเป็นเรื่องที่อยู่ไกลเกินเอื้อมถึง การใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ต้องเริ่มที่ภาครัฐต้องยอมรับความคิดเห็นของพี่น้องชุมชนเสียก่อน แล้วไปหนุนเสริมการจัดกระบวนการ ที่เป็นไปเพื่อเอื้อให้พี่น้องชุมชน ลุกขึ้นมาจัดการตัวเองให้ได้ โดยมีหลักอยู่ 10 ขั้นตอน ดังนี้ 1.ค้นหาแกนนำและองค์กรท้องถิ่น สร้างทีมงานที่ริเริ่มขบวนการจัดทำแผนแม่บท และสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกัน 2.จุดประกายความคิด ปิดประเด็นเพื่อหาคนมาทำงานร่วม นำประเด็นปัญหาต่าง ๆ วิกฤติที่เกิดขึ้นในชุมชนมาหารือกันสร้างความหวังที่จะอยู่รอดร่วมกัน 3.ศึกษาประวัติชุมชนให้ทุกคนเห็นคุณค่า … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on ขั้นตอนการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน

กองทุนฟื้นฟูชำระหนี้สินของเกษตรกร

เกษตรกรไทยรายย่อยต่างประสบปัญหาภาระหนี้สิน  โดยเฉพาะในยุคที่กระแสการปลูกพืชเชิงเดี่ยวกำลังไหลบ่าท่วมหมู่บ้าน ส่งผลให้เกษตรกรต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าภาครัฐจะดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อเกษตรกรที่ยากจน แต่กลับพบว่าทำให้เกษตรกรมีอุปสรรคมากขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องหาสาเหตุในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สถานการณ์ปัญหาหนี้สินเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยภาพรวมนับว่าเป็นปัญหาใหญ่  สาเหตุหลักนั้นเราต้องพิจารณาว่าการลงทุนของเกษตรกรนั้นต้องใช้ทุนมาก ดังนั้นผู้ที่มีหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ 100% เป็นหนี้กันหมด รวมทั้งการใช้หนี้ผิดประเภท เช่น ค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูก เป็นต้น พักหลังเกษตรกรที่สามารถกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษาได้นั้นพบว่าจะมีปัญหาหนี้สินตรงนี้น้อยลง ราคาพืชผลทางการเกษตรนั้น มีส่วนเชื่อมโยงกับปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร ผลจากการเปิดเสรีการค้า หากปีไหนราคาสินค้าเกษตรดี เกษตรกรก็สามารถส่งเงินชำระเจ้าหนี้ได้  แต่ช่วงหลังพบว่าเกษตรกรมีหนี้สะสมแพงมากขึ้น คือการเอาหนี้ที่มีอยู่ไปปรับโครงสร้างใหม่ ซึ่งยอดหนี้เท่าเดิม และขยายเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น บางรายอาจจะได้เงินทุนอีกก้อนไว้ลงทุนใหม่ กรณีการดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่ไปซื้อหนี้เกษตรกรจากสถาบันเจ้าหนี้ มีผลดีต่อเกษตรกร โดยการชำระหนี้ครึ่งหนึ่งให้แก่เกษตรกร หลังจากนั้นเกษตรกรก็จะต้องมาผ่อนชำระหนี้ส่วนนั้นกับกองทุนฟื้นฟูฯ โดยกองทุนฟื้นฟูคิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระต้องไม่เกิน 20 ปี ขณะที่สหกรณ์นั้น ส่วนของเงินต้นกองทุนฟื้นฟูฯจะชำระหนี้แทนเกษตรกรครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งที่เหลือกรมส่งเสริมสหกรณ์โดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะเป็นผู้จัดการ ส่วนสหกรณ์จะได้ดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ย … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on กองทุนฟื้นฟูชำระหนี้สินของเกษตรกร

โครงการช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้อย่างยืน

ความจำเป็นในการสร้างความเชื่อมโยงของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นฐานการลงทุนและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อันจะช่วยปูพื้นฐานการวางบทบาทการพัฒนาประเทศในภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ บนพื้นฐานการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยอาศัยศักยภาพของพื้นที่เศรษฐกิจที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ ควบคู่กับโครงข่ายบริการพื้นฐานที่มีครอบคลุมค่อนข้างทั่วถึงอยู่แล้ว ในการพัฒนาเตรียมประเทศเป็นประตูเศรษฐกิจของภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับตลาดโลกอย่างเป็นระบบเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาในด้านความเจริญเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ และปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต มองกันที่อุตสาหกรรม เน้นความเจริญทางวัตถุจนเกิดผลร้ายต่อธรรมชาติแวดล้อม เป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุลทำให้ธรรมชาติร่อยหรอและเกิดปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาสังคมและปัญหาสภาพจิตใจ จึงเป็นการพัฒนาที่ผิดพลาด กำลังจะทำให้โลกสู่หายนะ และความพินาศ เพราะเป็นการพัฒนาที่เสียสมดุลทำให้โลกไม่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยและอาจจะอยู่อาศัยไม่ได้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน จึงเกิดแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนาใหม่ โดยเปลี่ยนวิธีการพัฒนาโดยใช้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โครงการพัฒนาแบบองค์รวมในระดับหมู่บ้านเพื่อขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ไม่ใช่การแก้ที่ปลายเหตุด้วยวิธีการช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ซึ่งเป็นวิธีเก่าๆ ที่ไม่ได้ผล ซึ่งเชื่อว่าสิ่งที่จะสามารถขจัดความยากจนได้ คือ การเปลี่ยนจากความช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ไปสู่การส่งเสริมให้ชาวบ้านมีทักษะในการทำธุรกิจ โดยใช้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของโครงการของชาวบ้าน ซึ่งจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ระดมความร่วมมือจากชาวบ้านในการวางแผน การดำเนินโครงการ ไปจนถึงการติดตามและประเมินผล สามารถสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างหมู่บ้านในชนบทกับผู้สนับสนุนโครงการ ซึ่งอาจเป็นบุคคล ครอบครัว องค์กร หรือบริษัทธุรกิจต่างๆ ซึ่งโครงสร้างของโครงการจะช่วยให้บริษัทที่มีแนวคิดในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on โครงการช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้อย่างยืน

การพัฒนาชุมชนเพื่อที่จะให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน

การพัฒนาชุมชนเป็นการมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในแต่ล่ะชุมชนโดยให้เกิดการพัฒนาในทุกๆด้านไปพร้อมกัน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมืองการปกครองและระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้น ซึ่งการพัฒนาชุมชนนั้นมีกระบวนการขั้นตอนในการดำเนินการทั้งนี้การพัฒนาชุมชนตั้งอยู่บนพื้นฐานของบริบทของแต่ล่ะชุมชนที่มีความแตกต่างกันเช่น สภาพภูมิประเทศ วัฒนธรรม ความเชื่อ จึงส่งผลให้การพัฒนามีความแตกต่างกันในแต่ล่ะชุมชน  ในการที่เราจะพัฒนาชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องทำให้ชุมชนนั้นเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนจะต้องพัฒนาจากระดับรกฐาน เพื่อความมั่นคงและในการพัฒนาชุมชนเพื่อที่จะให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืนได้นั้น เราจำเป็นต้องพัฒนาชุมชนโดยอาศัยสินทรัพย์ชุมชนเป็นฐานโดยเริ่มจากการมองว่า มนุษย์ทุกคนมีพรสวรรค์อยู่ในตัวไม่อย่างใดอย่างหนึ่งและมีคุณค่าต่อผู้อื่นด้วย  ในชุมชนที่เข้มแข็งมีความตระหนักถึงคุณค่าของศักยภาพเหล่านั้น จะสามารถนำศักยภาพและคุณค่าของสิ่งนั้นนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในขณะที่ชุมชนอ่อนแอไม่ตระหนักว่าคนในชุมชนมีคุณค่า จึงสูญเสียโอกาสอย่างมหาศาล ดังนั้นความเข้มแข็งของชุมชนจะเกิดขึ้นได้ถ้ามีผู้คนจำนวนมากในชุมชนที่อุทิศตนเพื่อชุมชนเป็นสุข การพัฒนาชุมชนที่อาศัยสินทรัพย์ของชุมชนเป็นรากฐานเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของชุมชนอย่างยั่งยืนและมีความหมาย  มาจากภายในชุมชนเองเสมอ  ผู้เชี่ยวชาญก็มิใช่ใครที่ไหนหากแต่เป็นสมาชิกของที่นั้นร่วมกันจุดประกายขึ้นมา โดยเน้นที่ขุมพลังและความสามารถของชุมชนมากกว่าปัญหาและความขาดแคลนของชุมชนจะต้องมองโลกในแง่ดีมองที่ตัวสมาชิกแต่ละคนว่ามีความสามารถและพรสวรรค์และใช้ความสามารถที่มีอย่างมีคุณค่า แล้วสร้างสัมพันธภาพระหว่างความสามารถของแต่ละคน สมาคม องค์กรและเครือข่าย ต้องเปลี่ยนความคิดแนวทางการพัฒนาชุมชนจากแบบดั้งเดิมที่คิดและทำจากบนลงลาง  ริเริ่มจากภายนอกสู่ภายในใช้ความอ่อนแอเป็นฐานคิดว่าคนในใช้การไม่ได้ต้องพึงภายนอกให้เปลี่ยนแนวทางการพัฒนา  โดยคิดและทำจากล่างสู่บน  ใช้ความเข้มแข็งเป็นฐาน  คิดว่าคนในชุมชนมีสติปัญญาความสามารถงานสำเร็จโดยสมาชิกในชุมชน เราต้องเริ่มจากฐาน คือ สินทรัพย์ชุมชน  ขุมพลังชุมชนต้องมองอย่างจริงจังว่าคืออะไรอยู่ที่ไหนสำคัญอย่างไร มีเท่าไหร่ จะเอามาใช้อย่างไรเพราะในชุมชนจะมีทุนชุมชน ซึ่งก็จะมีต้นทุนทางวัฒนธรรม  ทุนทางธรรมชาติ  ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ ทุนสิ่งปลูกสร้าง ทุนด้านการเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกร่วมกันเป็นทุนชุมชนจะมีอยู่ในทุกชุมชนขึ้นอยู่กับว่าชุมชนนั้นๆ จะมองเห็นและค้นหาออกมามากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากแต่การพัฒนาที่เกิดขึ้นเป็นการพัฒนาที่มองข้ามทุนชุมชนจึงส่งผลให้เกิดปัญหาอันเนื่องจากมองข้ามหรือค้นหาทุนที่มีอยู่ในชุมชน สนใจเพียงปัจจัยภายนอกละเลยศักยภาพชุมชนส่งผลในการดำเนินการพัฒนา

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Comments Off on การพัฒนาชุมชนเพื่อที่จะให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน

จุดแข็งของหมู่บ้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารกองทุนหมู่บ้าน

กองทุนหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านได้มีส่วนในการช่วงกันสร้างพลังให้แก่ชุมชน ช่วยฝึกด้านการบริหารจัดการ ความสามัคคี เพราะ โอกาสดังกล่าวหากได้มาแล้วจัดการไม่ดี ก็จะเป็นการเพิ่มหนี้ให้กับประเทศ และทำให้ความสามัคคีที่เคยมีในชุมชนเกิดการแตกแยก ในชุมชนควรค่อยๆเรียนรู้กระบวนการพัฒนา โดยการศึกษาจากหมู่บ้านต้นแบบเพื่อมาประกอบการเตรียมความพร้อมในชุมชนของตนเอง ไม่ควรเร่งรีบจนเกินไป ควรค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จากการศึกษาจากหมู่บ้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารกองทุนหมู่บ้านพบว่ามีจุดแข็งต่างๆ ดังนี้ 1.หมูบ้านเริ่มจากการพัฒนาด้วยกิจกรรมเล็กๆ มีการพัฒนาที่เริ่มต้นมาจากชุมชน โดยการสนับสนุนจากภายนอกเป็นแค่แรงเสริมเท่านั้น เป็นหมู่บ้านที่มีรากฐานมั่นคงไม่สั่นคลอนง่ายต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ 2.มีผู้นำที่โดดเด่นทางด้านความคิด และการลงมือปฏิบัติ เพราะผู้นำชุมชนเป็นเงื่อนไขสำคัญในการพัฒนาขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้นำที่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน มีความพยายามที่จะกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ผู้นำในลำดับรองๆ ลงมาได้แสดงบทบาท ความรับผิดชอบ อันเป็นจุดเริ่มที่ทำให้กระบวนการพัฒนาก้าวหน้าขึ้น 3.ประสบการณ์ที่มีมา แสดงให้เห็นศักยภาพในการพัฒนา มีการล้มเหลวและประสบความสำเร็จมาก่อน กว่าที่จะสามารถพัฒนากลุ่มให้มีทิศทาง และรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนตนเองได้ 4.มีความสามารถในการบริหารเงินทุน หมู่บ้านที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารให้มีความชัดเจนโปร่งใส จะทำให้บริหารกองทุนหมู่บ้านได้ไม่ยาก 5.มีความสามารถในการนำกองทุนมาบริหารธุรกิจชุมชน ชุมชนไหนชาวบ้านรวมตัวกันทำธุรกิจชุมชน มีการระดมหุ้น ระดมเงินออม หรือขายผลผลิตร่วมกันมาก่อน รู้จักวิธีรวมตัว … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on จุดแข็งของหมู่บ้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารกองทุนหมู่บ้าน

ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาธุรกิจและพัฒนาชุมชน

้เนื่องจาก “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนกระทั่งการพัฒนาประเทศ ครอบคลุมทุกภาคส่วน ดังนั้น ไม่ว่าผู้ใดก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยต้องยึดหลักการดังนี้ ในระดับปัจเจกบุคคล แต่ละบุคคลจะต้องมีสติในการดำรงชีวิต ตระหนักถึงความสุขและความพอใจในการใช้ชีวิตอย่างพอดี คือ ดำเนินชีวิตอย่างสมถะ ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเอง และครอบครัว อย่างพอมีพอกิน โดยไม่เบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น และแบ่งปันส่วนที่เหลือไปยังสมาชิกอื่น ๆ ในชุมชน ในระดับชุมชน จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับชุมชน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาชุมชนได้อย่างเหมาะสม โดยยึดหลักความประหยัดและเรียบง่าย สามารถทำได้เองหาได้ในท้องถิ่น รู้จักประยุกต์ใช้ในสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ มาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนหรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากนัก ในระดับประเทศ จะต้องสร้างกระบวนการพัฒนาที่เป็นองค์รวม เพื่อความสมดุลโดยจะต้องพิจารณาในส่วนของทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ และทุนทางทรัพยากร … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาธุรกิจและพัฒนาชุมชน

กระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็ง

กระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาที่บุคคลได้รับความรู้ประสบการณ์ ได้เสริมสร้างเจตคติ ค่านิยม และทักษะต่างๆ จากครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม และจากประสบการณ์ในการดำรงชีวิตประจำวัน การได้รับความรู้อาจจะได้จากการพูดคุย สนทนา การสังเกต การเข้าร่วมในกิจกรรม การประกอบอาชีพการงาน โดยที่กิจกรรมเหล่านั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นหรือมีการจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งทางการศึกษา แต่จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่น แต่กลับทำให้บุคคลได้รับความรู้โดยบังเอิญหรือโดยไม่ตั้งใจ เช่น การที่บุคคลไปเที่ยวสวนสาธารณะหรือสวนสัตว์แล้วบังเอิญได้รับความรู้เกี่ยวกับสัตว์และพรรณไม้ต่างๆ หรือเด็กๆ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จากการพูดคุยกับเพื่อนกับคนในครอบครัว ได้เรียนรู้การทำอาหาร การดูแลบ้านเรือนจากการสังเกต และการช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน หรือบุคคลอาจเรียนรู้เรื่องของธรรมชาติ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ จากการฟังเพลง หรือจากการชมภาพยนตร์ เป็นต้น จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่ยกมาเป็นตัวอย่างไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ สวนสัตว์ การทำงานบ้าน เพลงภาพยนตร์ หรือสื่อมวลชน ชนิดอื่นๆ เหล่านั้นไปทำให้บุคคลเกิดความรู้ขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือโดยบังเอิญ การที่บุคคลได้รับความรู้โดยวิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่า การศึกษาตามอัธยาศัยทั้งสิ้นเพราะเป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on กระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็ง

ธุรกิจชุมชนเป็นแนวทางหนึ่งในการยกระดับรายได้ ชีวิตความเป็นอยู่

“ชุมชน” คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกัน โดยมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งในแต่ละชุมชนจะมีลักษณะเฉพาะที่มีคุณค่าแตกต่างกันออกไป ประชาชน ที่เกิด อาศัย และประกอบอาชีพอยู่ในชุมชนนั้นๆ ย่อมจะมีรู้สึกรักและหวงแหนในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ หากจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับชุมชนที่พวกเขาเหล่านั้นอาศัยอยู่ การเปลี่ยนแปลงย่อมทำให้พวกเขารู้สึกวิตกต่อผลกระทบที่จะตามมา ผู้ที่อยู่ภายนอกไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรือองค์กรต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาจะต้องมีความรู้และความเข้าใจต่อสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ โดยเฉพาะทุนทางสังคมไม่ว่าจะเป็นทางด้านรูปธรรม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรบุคคล ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือนามธรรม เช่น วัฒนธรรม ภาษาท้องถิ่น ทรัพย์สินทางปัญญา ค่านิยม การแต่งกาย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในชุมชน ธุรกิจชุมชนเป็นแนวทางหนึ่งในการยกระดับรายได้ ชีวิตความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในชนบทที่เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่เป็นกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดของประเทศ หากกลุ่มชาวบ้านเหล่านี้มีรายได้สูงขึ้นจะส่งผลกระทบด้านบวกต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยในการประกอบธุรกิจชุมชนควรมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on ธุรกิจชุมชนเป็นแนวทางหนึ่งในการยกระดับรายได้ ชีวิตความเป็นอยู่

การวางแผนธุรกิจภายในชุมชน

สินค้าของธุรกิจภายในชุมชน เป็นสินค้าแบบซื้อมาขายไป หรือเป็นการแปรรูปจากวัสดุภายในท้องถิ่น หรือมีสินค้าที่ทำเหมือนๆกัน เช่น เราไปเพชรบุรีเราก็จะเจอขนมหม้อแกงในละแวกเดียวกัน และสินค้าแต่ละอย่างก็มาจากการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ไม่มีการพัฒนา ไม่มีการคิดค้น ไม่มีการพัฒนาให้เกิดการได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นๆ เมื่อไม่มีข้อแตกต่างทำให้ผู้ขายต่างลดราคาสินค้าจนทำให้ขาดทุน และล้มเหลวในธุรกิจ ในปัจจุบันโครงการที่ได้รับการสนับสนุนในชุมชนมีหลายโครงการ โดยมีโครงการขนาดเล็กและโครงการขนาดย่อม ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก ความพิเศษของการลงทุนในธุรกิจขนาดย่อม คือ การได้ทำให้ความฝันในการเริ่มต้นธุรกิจของบุคคลที่มีรายได้น้อยเป็นจริง ในชุมชนเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือด้านเงินทุนในการทำธุรกิจของตนเอง เพราะคนในชุมชนมีรายได้น้อยทำให้ไม่ได้รับการปล่อยเงินกู้จากธนาคาร การดำเนินธุรกิจในชุมชนไม่ต่างจากการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กมากนัก ใช้วิธีการบริหารธุรกิจในแบบเดียวกัน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ธุรกิจมีสินค้าที่ดี มีการจัดการที่ดี เจ้าของกิจการเป็นคนเก่งในด้านนั้นๆ แต่กลับไม่มีกลยุทธ์ในการขายสินค้า จึงทำให้สินค้าไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ เมื่อลูกค้าไม่ซื้อ การวางแผนด้านการตลาดจึงมีความสำคัญ ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ธุรกิจเล็กๆในชุมชนก็ตาม สินค้าภายในชุมชนมักจะขายสินค้าเหมือนๆกัน เมื่อสินค้าเหมือนกับชุมชนอื่นๆ คู่แข่งก็จะเยอะตามไปด้วย ทำให้โอกาสในการที่ลูกค้าจะมาซื้อสินค้าน้อยลงไปด้วย ดังนั้นควรแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสินค้าให้แตกต่างจากคู่แข่ง ทำให้ธุรกิจโดดเด่นมากขึ้น เช่น การทำสินค้าที่แตกต่างออกไปเลย คิดใหม่ ทำใหม่ … Continue reading

Posted in พื้นฐานทางการเงิน | Tagged | Comments Off on การวางแผนธุรกิจภายในชุมชน